ทำไมต้องเรียน Python & Google Earth Engine in Colab for Geospatial Science แค่ JavaScript ก็น่าจะพอแล้วมั๊ย
ถึงแม้ว่า Google Earth Engine (GEE) เริ่มต้นพัฒนาด้วย JavaScript ซึ่งเหมาะสำหรับการเรียนรู้พื้นฐาน แต่ Python มีข้อได้เปรียบในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและการทำงานกับข้อมูลขนาดใหญ่ Python สามารถผสานการใช้ไลบรารีเพิ่มเติม เช่น pandas, numpy, และ scikit-learn เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลข้อมูล และ Google Colab ช่วยให้ทำงานบนคลาวด์ได้สะดวกโดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ การใช้ Python & GEE ใน Colab ช่วยให้คุณจัดการงานที่ซับซ้อนและมีความยืดหยุ่นมากกว่า JavaScript
ในยุค Geospatial Big Data และเข้าสู่เทรนใหม่ของอาชีพ Geospatial Data Science ด้วยความเชี่ยวชาญในการใช้ Google Earth Engine และ Python คุณจะสามารถวิเคราะห์และจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่อย่างมืออาชีพ นำทักษะเหล่านี้ไปปรับใช้ในตำแหน่งงานใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ การพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศ และการวิจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เพิ่มโอกาสในการปรับตำแหน่งและเงินเดือนในสายงานที่กำลังมาแรงอย่าง Geospatial Data Science
ออกแบบให้เรียนตาม เข้าใจง่าย
เนื้อหานี้ออกแบบให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้งาน Google Earth Engine และ Python API ได้ง่าย ผ่านตัวอย่างการประมวลผลข้อมูลจากดาวเทียม
แสดงข้อมูลแบบ Interactive
การแสดงข้อมูลแบบ Interactive โดยใช้ geemap
Python package ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างแผนที่โต้ตอบได้อย่างง่ายดาย เช่น การซูมเข้า-ออก เลื่อนแผนที่ เพิ่มสัญลักษณ์ คำอธิบาย (Legend) และ Split-panel เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ ผู้เรียนสามารถเห็นการแสดงผลแบบอินเตอร์แอคทีฟใน Google Colab ทันที ซึ่งช่วยในการวิเคราะห์และเข้าใจข้อมูลเชิงพื้นที่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เข้าถึง Python Library ที่ทรงพลัง
การใช้ไลบรารีต่างๆ ใน Python ที่มีความสามารถสูงในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล ไลบรารีเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อลดความซับซ้อนของการเขียนโค้ดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น:
- Pandas: สำหรับการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบตาราง ทำให้การกรองข้อมูล, รวมข้อมูล หรือคำนวณสถิติต่างๆ ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
- Numpy: สำหรับการคำนวณทางคณิตศาสตร์และการจัดการข้อมูลเชิงตัวเลขอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การคำนวณเมทริกซ์หรือการทำงานกับอาร์เรย์ข้อมูลขนาดใหญ่
- Matplotlib และ Seaborn: สำหรับการสร้างภาพและแผนภูมิเพื่อทำให้ข้อมูลมีความหมายและเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
- Geemap: สำหรับการสร้างแผนที่โต้ตอบและการใช้ Google Earth Engine เพื่อแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่ในรูปแบบที่เห็นภาพชัดเจน
- Scikit-learn: สำหรับการทำงานด้าน Machine Learning ตั้งแต่การเตรียมข้อมูล, การสร้างโมเดล, ไปจนถึงการประเมินประสิทธิภาพของโมเดล
เนื้อหาของบทเรียนเริ่มจากการปูพื้นฐานสู่การประยุกต์ใช้งานจริง
- แสดงผลข้อมูลจาก Earth Engine ผ่าน Folium (5:24)
- เริ่มต้นกับ geemap: การติดตั้งและสร้างแผนที่พื้นฐาน (4:53)
- การใช้งานข้อมูลหลากประเภทใน Earth Engine Python API (10:56)
- การเพิ่มสัญลักษณ์ แถบสี และคำอธิบาย (4:47)
- การเปรียบเทียบภาพด้วย Split-panel และการแสดงผลอนุกรมเวลา (6:32)
- การรวมและตัดภาพด้วยเทคนิค Mosaic และ Clip ใน geemap (5:28)
- Python Code สำหรับ Module 3
- การเพิ่มความละเอียดภาพด้วยเทคนิค Pan-sharpening (5:48)
- การใช้ Vegetation Index เพื่อวิเคราะห์พืชพรรณ (10:09)
- การวิเคราะห์ภาพเชิงพื้นที่ด้วย Band Math (4:31)
- การใช้ Zonal Statistics เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (5:22)
- การส่งออกข้อมูลภาพใน Earth Engine ด้วย Python (2:52)
- Python Code สำหรับ Module 4
- การสร้างภาพปราศจากเมฆจากข้อมูล Sentinel-2 และ Landsat-9 ใน Python (7:49)
- การวิเคราะห์แสงกลางคืนด้วยเทคนิค Regression บน Earth Engine (5:33)
- การใช้ Python และ Earth Engine เพื่อวิเคราะห์อุณหภูมิพื้นผิวดิน (7:03)
- การติดตามปริมาณน้ำฝนรายเดือนด้วย geemap ใน Python (5:53)
- การประเมิน LULC โดยใช้ข้อมูลจาก ESRI และ ESA บน Earth Engine (4:31)
- การวิเคราะห์ความหนาแน่นของเมืองด้วย Python และ Earth Engine (4:55)
- การวิเคราะห์ Water Recurrence ด้วย Python (3:55)
- การประเมินความชื้นดินจาก SMAP ผ่าน Python และ geemap (5:25)
- การใช้ Synthetic Aperture Radar (SAR) สำหรับการวิเคราะห์หลายช่วงเวลา (4:22)
- การใช้ข้อมูล Google Open Buildings เพื่อการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ใน Python (5:14)
- Python Code สำหรับ Module 5
- Introduction to Machine Learning (4:42)
- การเตรียมชุดข้อมูลสำหรับการ ทำ Training Dataset (8:10)
- Supervised Learning และการการทำ Accuracy Assessment (7:29)
- การปรับจูนไฮเปอร์พารามิเตอร์: กรณีศึกษา SVM (5:57)
- การสุ่มแบบแบ่งชั้นจากข้อมูล Sentinel-2 ด้วย ESA WorldCover (5:54)
- Unsupervised Learning (4:02)
- Python Code สำหรับ Module 6
- Shapefile ขอบเขต Bangkok Metropolitan Region (BMR)